จากเหตุการณ์ในช่วงต้นปีเกือบ ๆ กลางปี มีกรณีที่เกิดขึ้น และโด่งดังในวงการรถยนต์ไฟฟ้า EV จากข่าวที่รถยนต์ยี่ห้อ BYD รุ่น otto จอดตากฝนที่มีน้ำท่วมเตี้ย ๆ เป็นเวลา 15 นาที แล้วปรากฏว่าแบตเตอรี่เสื่อม เมื่อนำรถเข้าศูนย์ถูกเรียกเก็บค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นจำนวนหลายแสนบาท
นับตั้งแต่ข่าวนี้ออกมา ทำให้ยอดขายของรถยนต์ยี่ห้อ BYD ตกลงมาอย่างหนัก จากการขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กลายเป็นว่าใคร ๆ ก็ไม่กล้าซื้อรถยี่ห้อนี้ ถึงแม้ว่าในเวลาต่อมาจะมีการเคลียร์กับเจ้าของรถเป็นที่เรียบร้อย ว่าเป็นราคาที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็เกิดความเสียหายอย่างหนักให้กับรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อนี้ไปแล้ว
BYD ไม่ได้เกิดจากรถยนต์ แต่เริ่มจากแบตเตอรี่
แต่เดิมนั้น บีวายดี เป็นบริษัทผลิตแบตเตอรี่ และแม้แต่ในปัจจุบันเองก็ยังคงเป็นบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของโลก ถึงขนาดที่รถไฟฟ้ายี่ห้อดังหลายค่ายที่เพื่อน ๆ คุ้นเคย ก็ยังล้วนแต่ใช้แบตเตอรี่ของบริษัทนี้ด้วยซ้ำไป เพียงแต่ในสมัยก่อนเราไม่ได้ใส่ใจยี่ห้อของแบตเตอรี่ที่อยู่ในรถยนต์ไฟฟ้า EVมากนัก เราถึงไม่ค่อยรู้จักบริษัทนี้
ในอดีตบริษัทนี้เคยผลิตแบตเตอรี่ให้กับโทรศัพท์มือถือเจ้าดังอย่าง Nokia และ Motorola เป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรฐานในการผลิตแบตเตอรี่ของ บีวายดี มีคุณภาพสูงมาก จริงมักจะถูกนำไปประกอบอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลุ่มไฮเอ็น หรือ กลุ่มราคาสูงอยู่เสมอ
บีวายดี ได้ถูกประกาศ concept ของบริษัทว่าหมายถึง build your dream พี่หมายถึงการสร้างฝันของผู้ใช้งานให้เป็นจริง อย่างเช่น ในกรณีของรถยนต์ไฟฟ้า ต้องการสื่อว่ารถยนต์ไฟฟ้า EV ของตนเองนั้น จะทำให้ทุกวันต้องการของผู้ใช้งานเป็นจริงได้นั่นเอง
บีวายดี มาแรงนักก็เป็นแพะไปซะ
ในช่วงประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ความนิยมในรถไฟฟ้า EV เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในโลกเรามีปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าใช้งานมากถึงราว ๆ 20% แล้ว ในต่างประเทศอาจจะมากกว่านี้ไปเยอะ และหนึ่งในค่ายรถไฟฟ้าที่มาแรงที่สุดคือ บีวายดี นี่เอง สิ่งย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่ายิ่งรถไฟฟ้า EV มาแรงเท่าไหร่ ฝ่ายแอนตี้ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ผลิต และผู้ประกอบการรถยนต์สันดาปย่อมมีมาตรตามมาเป็นธรรมดา
รวมไปถึงผู้ใช้งานเองที่ยังไม่เคยได้สัมผัสกับรถยนต์ไฟฟ้า ก็ยังเปิดกระแสต่อต้านขึ้นมาลึก ๆ เพียงแต่ยังไม่มีเหตุผลอะไรให้ออกมาโจมตี จนกระทั่งมีประเด็นของแบตเตอรี่จากรุ่น OTTO ตามข่าวที่กล่าวมาแล้ว พิมพ์ถูกจุดกระแสโจมตีอย่างต่อเนื่อง แล้วทำให้ยอดขายตกลงแบบฮวบฮาบ เลยทีเดียว ถ้าจะเรียกว่าเป็นหนึ่งในแพะของวงการรถไฟฟ้า EV เลยก็ว่าได้
เพราะอันที่จริงแล้วมีกรณีคล้าย ๆ กันเคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ จากรถไฟฟ้า EV ยี่ห้อ Ora good cat เพียงแต่ในช่วงเวลานั้นกระแสของรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่แรงมากนัก ประกอบกับยอดขายของออร่าไม่ได้โดดเด่นดุดันเท่ากับ บีวายดี ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้รอดตัวจากการถูกโจมตีหนักไปได้

คิดในหลายแง่มุมเกี่ยวกับ BYD
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถ้าถามเราว่า บีวายดี มีส่วนผิดหรือไม่ คำตอบคือผิดชัดเจน เอาแค่การที่ศูนย์บริการประเมินว่าต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทั้งก้อน ทั้ง ๆ ที่เปลี่ยนแค่บางเซลล์ก็พอแล้ว เป็นการแสดงให้เห็นว่าการอบรม และให้ความรู้กับดีลเลอร์หรือศูนย์ซ่อมบำรุงต่าง ๆ แย่มาก นับว่าเป็นความผิดอย่างชัดเจน
แต่สิ่งที่น่าแปลกคือกระแสโจมตีไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ความคิดด้านนี้ แต่กับมุ่งเป้าไปที่รถไฟฟ้า EV ทั้งหมด ว่าแบตเตอรี่แช่น้ำไม่ได้ แบตเตอรี่โดนน้ำแล้วพัง รวมถึงการโจมตีในแง่มุมอื่น ๆ ที่พยายามจะยกข้อมูลให้เห็นว่ารถยนต์สันดาปใช้งานได้ดีกว่า ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าเป้าโจมตีมันดูผิดทิศผิดทางเกินไปหรือเปล่า
ราวกับว่ามีเบื้องหลังที่พยายามผลักดันให้กระแสรถยนต์ไฟฟ้าต้องเสื่อมความนิยมเลย ไม่รู้ว่าเพราะป้ายรถยนต์ 3 ดาบบางแห่งตามเทคโนโลยีไม่ กระแสรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีนมาแรงจนเกินไป หรืออาจจะเป็นการโจมตีด้วยเจตนาบริสุทธิ์ก็เป็น คำตอบของคำถามนี้ไม่มีใครรู้
แต่ที่เห็นได้ชัด ๆ ก็คือ เหล่าผู้ที่ยังชื่นชอบ และมีความนิยมในรถยนต์สันดาปอยู่นั้น ออกมาดีอกดีใจกันใหญ่ว่าตนเองโชคดีแล้วที่ไม่ได้เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า รถน้ำมันดีกว่า..แช่น้ำได้ด้วย!!!
แบตเตอรี่กับน้ำมัน ก็แค่ทางเลือกของพลังงาน ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด
เราชอบที่มีคนให้คำนิยามว่า รถไฟฟ้าใช้ก่อนประหยัดก่อน สิ้นท่าพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมจริง ๆแล้วก็ถูกของเขา เพราะราคาพลังงานของรถยนต์ไฟฟ้า EV กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันน้ำต่างกันลิบลับ อีกครั้งในส่วนของราคารถไฟฟ้า EV เองก็มีราคาค่อนข้างถูกอยู่แล้วด้วย
แต่ในขณะเดียวกันรถไฟฟ้าอย่าง บีวายดี หรือ ยี่ห้ออื่น ๆ ก็มีความเสี่ยงจากกรณีความชื้น หรือ การแช่น้ำนาน ๆ เช่นเดียวกัน ตรงนี้ต้องอธิบายก่อนว่าตามปกติแล้วแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าจะมีชั้นฟิล์ม หรือ ชั้นเคลือบกันน้ำเอาไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ในบางครั้งอาจจะมีบางคันที่หลุดมาตรฐานไปบ้างจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ดังนั้น ผู้ที่สนใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องตื่นตระหนกว่าจะโดนน้ำไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้น รวม ๆ แล้วยังนับว่าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนรถยนต์ที่ขายออกไป
แม้แต่รถยนต์น้ำมันเองก็ไม่ใช่ว่าจะแช่น้ำได้นานขนาดนั้น เพียงแต่ลักษณะของการใช้พลังงานที่ต่างกันทำให้รถยนต์น้ำมันยังอาจจะพอเอาตัวรอดจากสถานการณ์ดังกล่าวไปได้พักนึง ก่อนที่จะต้องซ่อมอยู่ดี ดังนั้นจากเหตุการณ์นี้เราอยากให้เพื่อน ๆ พิจารณา และไตร่ตรองในเชิงว่าลดทั้ง 2 ประเภทก็เพียงแค่ใช้พลังงานที่แตกต่างกันเท่านั้น ไม่ได้มีใครผิดใครถูก รถสไตล์ไหนที่เหมาะสมกับตัวเราเองก็ให้เราใช้รถในสไตล์นั้นได้โดยไม่ต้องกังวลจนเกินไป
ขอขอบคุณข้อมูล : www.one2car.com